หน้าหลัก
OTOP
สถานที่ท่องเที่ยว
ศิลปะและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กระดานถาม-ตอบ
ITA
บริการประชาชน
ติดต่อ-สอบถาม
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ : www.srisooklocal.go.th
 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์

โครงการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ
    รายละเอียดข่าว :

แบบโครงการ/กิจกรรมดีเด่นหรือมีความสำคัญ

ที่สอดคล้องกับนโยบายหรือยุทธศาสตร์ของจังหวัดตามมิติที่ 2

ตามมติด้านประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดที่ 4

 

1.  ชื่อโครงการ:  โครงการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ 

2.  ผู้รับผิดชอบโครงการ: องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

3.  โครงการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เป้าประสงค์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

                     -เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและรักษาสิ่งแวดล้อมให้สมดุล

 กลยุทธ์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

     ข้อ 3.1 ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน

4.  หลักการและเหตุผล

                   ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ทำให้ขยะกลายเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศ ปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขยะที่สัดส่วนขยะย่อยสลายได้กลับลดลง ทำให้ปัญหาขยะตกค้างกลายเป็นวาระแห่งชาติ การจัดการขยะต้องอาศัยการบูรณาการ ตั้งแต่ ผู้ผลิตขยะ คือชุมชน จนถึงผู้กำจัด คือภาครัฐ การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ถือเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุด ในกระบวนการจัดการขยะแบบบูรณาการ ชุมชนควรต้องรับผิดชอบดูแลขยะของตนเอง

                    ปัจจุบันเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข มีปริมาณขยะจำนวนมากซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชนจึงเป็นภาระหนักขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข ในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้นปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมายได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามองเสียทัศนียภาพส่งกลิ่นเหม็นรบกวนเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่นหนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่นตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่นฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และเกิดก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม

          องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุขได้เล็งเห็นปัญหา ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะชุมชนและไม่มีที่ทิ้งขยะโดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนจัดตั้งองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกต่อการรักษ์บ้านเกิดของคนในชุมชนนอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเองจนเกิดชุมชนต้นแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในตำบลแล้วยังเป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลบได้ทำให้ช่วยลดสภาวะเรือนกระจก
                   องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข จึงได้จัดทำโครงการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบและถูกวิธีเพื่อเป็นต้นแบบแห่งการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

5.วัตถุประสงค์

    1.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่

    2.เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างหมู่บ้านต้นแบบในระดับตำบล

    3.เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดตั้งธนาคารขยะ

 

 

 

 

 

6. เป้าหมาย

   -ประชาชนตำบลศรีสุข หมู่ที่ 1 - 8 จำนวน 80 คน

 

         

7.วิธีดำเนินการ

   1. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์

   2. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน

   3. จัดตั้งคณะทำงานธนาคารแยกขยะ และตั้งเป็นองค์กร

   4. ติดตาม ประเมินผล และให้การสนับสนุนกิจกรรมการคัดแยกขยะ และการลดมลพิษสิ่งแวดล้อมในชุมชน 

      เป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการขยายผลการปฏิบัติจริงครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วน

      ตำบลศรีสุข

8.  ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายความสำเร็จของโครงการ

ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายและระดับคะแนน

 

ผลสัมฤทธิ์หลัก

ตัวชี้วัด

น้ำหนัก

 

ค่าเป้าหมายระดับคะแนน

เหตุผล

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน

 

2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถดำเนินการถ่ายทอดวิธีการจัดการขยะแต่ละครัวเรือนได้

๑.จำนวนครัว

เรือนที่มีการคัดแยกขยะเพื่อขายและรีไซเคิล

 

 

 

2.จำนวนผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่กับครัวเรือนอื่นได้1 คน ต่อ 1ครัวเรือน

5

 

 

 

 

 

 

 

5

ต่ำกว่า

16

ครัวเรือน

1 คะแนน

 

 

 

 

ต่ำกว่า

16

ครัวเรือน

1 คะแนน

 

 

17-32

ครัวเรือน

 

2 คะแนน

 

 

 

 

17-32

ครัวเรือน

 

2 คะแนน

 

33-48

ครัวเรือน

 

3 คะแนน

 

 

 

 

33-48

ครัวเรือน

 

3 คะแนน

 

49-64

ครัวเรือน

 

4 คะแนน

 

 

 

 

49-64ครัวเรือน

 

4 คะแนน

 

65-๘๐ ครัวเรือน

 

5 คะแนน

 

 

 

 

65-80ครัวเรือน

 

5 คะแนน

 

-เป็นการวัดจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ

 

 

-เป็นการวัดจำนวนครัวเรือนที่รับความรู้จากการเผยแพร่

 

 

                 

9 ขั้นตอนการดำเนินการ

กิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ

-ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ

ผู้เข้ารับการอบรม

วันที่ 6 กันยายน 2562

ระยะเวลา 1 วัน

-ได้แนวทางในการดำเนินงาน

2.จัดทำรายละเอียดการดำเนินงานของโครงการพร้อมทั้งค่าใช้จ่าย

ผู้เข้ารับการอบรม

จำนวน 1 วัน

-รายละเอียดการดำเนินงาน

3.แจ้งประชาสัมพันธ์การดำเนินการอบรม

หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 8

จำนวน 1 วัน

- ทำหนังสือแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบรายละเอียด

4.ดำเนินการจัดอบรมตามโครงการที่กำหนด

ผู้เข้ารับการอบรม

วันที่ 9 กันยายน 2562

ระยะเวลา 1 วัน

- ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดตั้งธนาคารขยะ

5.ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

คณะกรรมการตรวจประเมิน

10-30 กันยายน 2562

 

- ได้ความรู้จากการปฏิบัติงานในพื้นที่ สำหรับการขับเคลื่อนโครงการ

-สามารถจัดตั้งธนาคารขยะภายในตำบลได้

10.ระยะเวลาดำเนินการ

          วันที่ 6 - 9 เดือน กันยายน พ.ศ. 2562 

11.สถานที่ดำเนินการ

          องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์/ศาลาประชาคมบ้านโคกสมบูรณ์ หมู่ที่4

12.งบประมาณ

แผนงานการเกษตร  งานอนุรักษ์แหล่งน้ำและป่าไม้ งบดำเนินการ ค่าใช้สอย รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ  ค่าใช้จ่ายตามโครงการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ  เช่น ค่าป้าย  ค่าอาหาร  ค่าวิทยากร ฯลฯ ตั้งไว้ 20,000 บาท  ดังนี้

    1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25x80   เป็นจำนวนเงิน  2,000  บาท

    2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมจำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25x80       เป็นจำนวนเงิน  2,000  บาท

    3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 80 คนๆละ1 มื้อๆละ 80x80              เป็นจำนวนเงิน  6,400  บาท

    4.ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                                               เป็นจำนวนเงิน  3,600  บาท  

    5.ค่าจัดทำสมุดคู่มือการบริหารจัดการธนาคารขยะจำนวน80ชุดๆละ35 บาท                     เป็นจำนวนเงิน  2,800  บาท

    6.ค่าจัดทำป้ายโครงการและป้ายประชาสัมพันธ์จำนวน 8 ป้ายๆละ400                            เป็นจำนวนเงิน  3,200  บาท

                                                                                                    รวมทั้งสิ้น 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          1. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง

          2. ไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากขยะมีพิษและสิ่งปฏิกูลต่างๆ

          3. ขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

          4. มีหมู่บ้านต้นแบบ สามารถจัดตั้งธนาคารระดับตำบลได้                                                                                                                         

14. แนวทางการประเมินโครงการ

          การประเมินผลโดยการสังเกต และสอบถามข้อเท็จจริงในการดำเนินโครงการจากกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนสิ้นสุดโครงการ เพื่อสรุปและประเมินผลการดำเนินงานโครงการให้กับผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุขทราบ

    เอกสารประกอบ : โครงการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ
 
    วันที่ลงข่าว
: 9 ก.ย. 2562
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข




- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 925497 คน ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2561 -